เคล็ดลับการทำจิตสงบ สรุปตามแอดมินเข้าใจ

อันดับแรก จงเข้าใจคำว่าสมาธิก่อน สมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึง การตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั่นเอง ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ

เมื่อเริ่มทําอย่าเพึ่งตั้งใจจะรู้ลมเลยทันที ให้สังเกตุมาที่กายใจเราเองก่อน กายเราตึงเพ่งเกร็งตรงไหนให้ผ่อนคลายออก หมั่นสังเกตุรู้สึกมาที่กายตน อย่าให้ตึงเพ่งเกร็ง เมื่อคลายกายดีแล้ว ให้มาคลายใจ ให้รู้สึกถึงใจเราเอง ว่าใจเราตึงเพ่งเกร็งไหม ให้ผ่อนคลายใจเราให้เบาสบายๆ สัมมาสมาธิจะเกิดเมื่อกายใจเราเบาสบาย

เมื่อทุกคนนั่งในท่าสบายของเราแล้ว อย่าลืมหายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ – ๓ ครั้ง ระบายลมหยาบออกให้หมด แล้วกำหนดความรู้สึกตามลมหายใจเข้าไป ตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาหรือไม่ใช้คำภาวนา ตามรู้ลมอย่างเดียวก็ได้ เรื่องของการปฏิบัตินั้น ลมหายใจเข้าออกเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทุกครั้งก็จะย้ำว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้พวกเราได้ตระหนักว่า ถ้าสติและสมาธิของเรา หลุดจากลมหายใจเข้าออกไปเมื่อใด รัก โลภ โกรธ หลง ต่าง ๆ ก็แทรกสิงเข้ามากินใจของเราได้ง่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตามดู ตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเราให้ได้

โดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก คือไม่ยอมคิดอย่างอื่นจะประคองใจให้อยู่ ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออกทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่าง น้อยสิบนาทีหรือถึงครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมากอารมณ์จะสบายจงพยายามทำ อย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมากบังคับอารมณ์ เพียงสิบเท่านั้นพอใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี

ข้อควรจำ.. ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในอันที่จะเจริญจิต ให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือตัว “ศีล” ..การบริกรรม “พุทโธ” เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้ง ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

(เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษผู้หนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขน พร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่าถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธาของตนเองเลย)

 

การทำจิตให้สงบ มีหลายวิธีดังนี้

  1. กำหนดจิต นึกถึงว่าเรานั่งสมาธิต่อหน้าพระพุทธเจ้า ระลึกว่าเราตั้งใจนั่งสมาธิบูชาท่าน
  2. หายใจเข้า แล้วกลั้นลมหายใจเล็กน้อย แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออก ระหว่างที่กลั้นลมหายใจ จะเกิดความว่าง ให้จับความว่างนั้นเป็นอารมณ์
  3. ให้ท่านภาวนาควบกับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า”พุท” หายใจออกนึกว่า “โธ” ดังนี้ นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก คือไม่ยอมคิดอย่างอื่นจะประคองใจให้อยู่ ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออกทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่าง น้อยสิบนาทีหรือถึงครึ่งชั่วโมง
  4. ถ้าจิตของเราวุ่นวายกับสิ่งต่างๆ ไม่ยอมรวมเข้ามาก็ต้องสูดลมเข้าให้มากที่สุดจนกว่าจะไม่มีที่เก็บ แล้วก็ปล่อยลมออกให้มากที่สุดจนกว่าจะหมดในท้องเราสัก ๓ ครั้ง แล้วตั้งความรู้ใหม่แล้วสูดลมต่อไปอีกแล้วตั้งขึ้นใหม่ พักหนึ่งมันก็สงบไปเป็นธรรมดาของมัน

เคล็ดลับการทำจิตตั้งมั่น

รู้สึกตัวๆ หลงแล้วรู้ๆ

ตัวพุทโธ เป็นความคิด เหมือนความฝัน
แต่เป็นความฝันที่เราจงใจฝัน จงใจคิด
เวลาเราเผลอขาดสติ มันจะเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น
มันจะไม่คิดพุทโธ
เราก็จะสังเกตได้ง่าย ว่าอ้าว ลืมพุทโธไปแล้ว
ทีแรกอาจจะโมโหตัวเอง ทำไมมันลืมบ่อย
ก็ทน ๆ ดูไป อย่าไปโมโห
ลืมตัวเองก็ไม่เป็นไร คอยรู้สึกเอาใหม่
ต่อไปพอจิตมันชำนาญขึ้น
พอมันเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น แทนพุทโธ
สติก็เกิดเลย นึกขึ้นได้ ระลึกได้
ว่าลืมพุทโธไปแล้ว หลงไปคิดเรื่องอื่นแล้ว

การเจริญปัญญา

ดูร่างกายหายใจ
พอเรารู้สึกถึงร่างกายหายใจแล้ว เราก็เติมมุมมองลงไป
ถนัดในมุมของอนิจจังก็ดูไป
ร่างกายนี้ตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
ถ้าถนัดในมุมทุกขังก็ดู
ร่างกายนี้ถูกบีบคั้น กำลังก้าวไปสู่ความตายทีละน้อยๆ
ถ้ามองในมุมของอนัตตา
ร่างกายนี้เป็นเปลือกเป็นถ้ำ ไม่ใช่คน ใช่สัตว์ ใช่เรา ใช่เขา

ทีนี้พอเจริญปัญญา มองในมุมของไตรลักษณ์ไปช่วงหนึ่ง
เกิดเหน็ดเหนื่อยขึ้นมา หายใจแรงๆ ถอนใจ
เปลี่ยนเข้าไปดูร่างกายหายใจ ไปดูลมหายใจ
เพราะฉะนั้นเวลาทำวิปัสสนา
หมายรู้ความเป็นไตรลักษณ์ไปแล้วจิตมันเหนื่อย
ก็ไปทำสมถะ ไปดูลมหายใจ
ดูลมหายใจ พอจิตใจมีเรี่ยวมีแรงแล้วก็เขยิบขึ้นมา
เขยิบจิตขึ้นมา เห็นร่างกายหายใจ
ไม่เหมือนกัน
เริ่มจากดูลมหายใจ
พอจิตมีกำลังสดชื่นแล้ว เขยิบขึ้นมาดูร่างกายหายใจ
พอดูร่างกายหายใจได้แล้ว ก็เติมมุมมองของความเป็นไตรลักษณ์ลงไป
ไม่ใช่หายใจเฉยๆ
แต่มองในความเป็นไตรลักษณ์

ไปฝึกเข้า
วันนี้สอนแปลกไหม สอนแล้วต้องเอาไปทำนะ
ปกติครูบาอาจารย์ไม่ค่อยสอนหรอก

เคล็ดลับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ท่านว่าถึงจะออกมาจากการภาวนาแล้วก็ “ต้องมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตใจของตนอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเผลอสติ (การลืมตัว) ก็พยายามทำความรู้สึกหรือรู้ตัวทั่วพร้อมกันใหม่ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาโดยมีความเพียรเป็นหลักไม่ท้อถอยอ่อนแอ ไม่ไหลไปตามอารมณ์…”

แรกๆ ก็ทำไม่ได้แต่อาศัยความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นให้จงได้ จึงมีมานะพยายามที่จะเอาชนะใจของตนเอง

ด้วยวิธีนี้ “จึงสามารถครองสติไว้ได้ยาวนานขึ้นจากนาที เป็นสองสามนาที เป็นสิบนาที เป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง เป็นวันโดยใช้เวลาไม่นานปีนัก”

70616408_2241963675912306_1193806243190276096_o

ถ้าเรามองด้วยปัญญา เราจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสัมผัสได้ด้วยตาหูจมูกลิ้นกายใจนั้น ล้วนแล้วแต่มีลักษณะอันเดียวกัน คือเกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่จำเป็นต้องรอออกบวชไปอยู่ในป่าในเขา แต่เป็นความเข้าใจเรื่องสิ่งธรรมดา ที่อยู่กับเราตลอดเวลา อาบน้ำ แปรงฟัน ทำกับข้าว ทานข้าว ล้างจาน ขับรถ เดินไปเดินมา ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นโอกาสที่เราจะเข้าใจในธรรมะได้ การประพฤติปฏิบัติไม่ได้อยู่นอกเหนือจากชีวิตประจำวันของเรา คนเราต้องพยายามมีธรรมะอยู่ในใจตลอดเวลา เพราะธรรมะเป็นเครื่องแก้กิเลส และกิเลสเกิดได้ทุกเวลานาที

 

 

 

หลวงพ่อชาสอนลูกศิษย์ให้กำหนดสติตื่นรู้ในจิต และเพียรรักษาสติตลอดการภาวนา ท่านอธิบายหลักการนี้ด้วยการอุปมาห้องที่มีประตูหกบานและเก้าอี้ตัวเดียวตรงกลางห้อง หลวงพ่อบอกว่า ถ้าเจ้าของห้องนั่งเก้าอี้โดยไม่ยอมลุก ต่อให้มีคนเดินเข้าเดินออกทางประตูทั้งหก ก็จะไม่มีใครอยู่นาน เพราะไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง

ในลักษณะนี้ จิตเปรียบเหมือนห้อง ประตูทั้งหกคืออายตนะ หากเรากำหนดสติและการตื่นรู้แน่วแน่ ก็เสมือนกับสติและการตื่นรู้ครอบครองพื้นที่กลางจิต อารมณ์อื่นๆ อาจย่างกรายเข้ามา แต่ไม่มีที่ให้นั่งพัก ไม่ช้าอารมณ์เหล่านั้นก็จากไปเอง

โดยปกติในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดอารมณ์หงุดหงิดไม่พอใจ เราชอบระบายความรู้สึกออกไป โดยการดุหรือพูดอะไรให้คนอื่นเจ็บใจ แต่เรารู้สึกตัวแล้วไม่พูดอย่างนั้น เราก็จะได้ธรรมะหลายข้อ ความรู้สึกตัวว่ากำลังหงุดหงิดคือตัวสติ และการที่ไม่ทำตามความรู้สึกนั้นคือความอดทน เมื่อความเศร้าหมองในใจเราหาย เกิดสำนึกในความไม่เที่ยงของอารมณ์ ความไม่เป็นตัวเป็นตนของอารมณ์ นั่นคือตัวปัญญา การปฏิบัติในชีวิตประจำวันเป็นอย่างนี้

ทำไมเราจะโลภไม่ได้เหรอ เรามีกิเลส
ทำไมเราจะโกรธมั่งไม่ได้เหรอ กิเลสมีอยู่
แต่ให้รู้ตัวเร็วขึ้น นั่นถูกต้องแล้วนี่
รู้ตัวเร็วขึ้น ปรับปรุงเร็วขึ้น แก้ไขเร็วขึ้น
สิ่งเหล่านี้จะเกิดเร็ว ดับเร็ว
เกิดเร็วดับเร็วไปเรื่อย
เรื่อยๆจนกระทั่งเกิดช้า ดับเร็ว เกิดช้า ดับเร็ว
หัวใจก็ค่อยสว่างขึ้นด้วยตัวเอง

☘️🌸.. จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
ความคิด อารมณ์ คือ สิ่งที่จรเข้ามาในจิต
จิตเศร้าหมองด้วยเหตุที่ความคิด อารมณ์ หรือกิเลสจรเข้ามาครอบงำจิต
☘️🌸.. อุปมาเปรียบเทียบ จิตคือกระจก ความคิด อารมณ์ที่เข้ามาส่องกระจก จิตก็จะรู้สิ่งนั้น คนใส่เสื้อสีแดงยืนส่องกระจกจิตรู้ คนไปเต้นรำหน้ากระจกจิตก็รู้อันนั้น
☘️🌸..สติหรือความรู้สึกตัว เป็นธรรมที่ระลึกรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับจิต และเป็นฝ่าย สมาธิ ปัญญา ที่เข้าไปอบรมจิต ฉะนั้น เมื่ออะไรเข้าจรเข้ามาในจิตหรือใครเข้ามาส่องกระจก สติหรือความรู้สึกตัวจะทำหน้าที่
☘️🌸.. จิต..ความคิด..อารมณ์..สติหรือความรู้สึกตัวล้วนเป็นสภาวะธรรม หรือธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว แต่ตัวสติหรือความรู้ตัวมันยังไม่”ตื่นรู้” ตื่นรู้ไปเห็นความคิดอารมณ์และจิตนั่นเอง
☘️🌸…ฉะนั้นต้องเจริญสติให้มันมีขึ้น บางท่านก็บอกว่าเอาเรา คือ เอาความมีเราไปสร้างสติมันไม่ได้
การปฎิบัติจึงเอาธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เหมือนลมพัดถูกกายธรรมชาติรู้เอง รสอะไรที่เข้าไปถูกลิ้นธรรมชาติก็รู้ ยืน เดิน นั่ง นอน บนวัตถุ อ่อน แข็ง ร้อน เย็น มันก็รู้ของมัน ให้เห็นสิ่งนี้ รู้กับสิ่งนี้ รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง พอไม่รู้ เดี๋ยวกลับมารู้ของมัน
🌸☘️ . เมื่อสติต่อเนื่องเป็นสมาธิปัญญา จะไปเห็น อารมณ์ กิเลสจรเข้ามา พร้อมกับเห็นจิตที่อิสระ ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ
ส่งท้ายด้วยธรรมหลวงพ่อคำเขียน ” โลภ โกรธ หลง ไม่ใช่จิต ให้เห็นมัน ไม่มี ไม่เป็นกับมัน เห็นเพียงมันแสดง”

จะทำงาน จะกวาดบ้าน จะถูพื้น จะซักผ้า
จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน
คอยดูร่างกายมันทำงานไปเรื่อย
มันเจ็บมันปวดขึ้นมาก็คอยรู้เอา
มันสุขมันสบายก็คอยรู้เอา
มันดีใจมันเสียใจ
มันจะมีความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น
คอยรู้เอา

สุดท้ายเราจะแยกธาตุแยกขันธ์ออกไป
เราจะเห็นเลยร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า
เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งเดินไปเดินมา
ไม่มีตัวเราในร่างกายนี้
ความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้น
ก็เป็นแค่สภาวธรรมอันหนึ่ง
ไม่ใช่ตัวเรา สั่งให้เกิดก็ไม่ได้
เช่น สั่งให้มีความสุขก็สั่งขึ้นมาไม่ได้
ห้ามไม่ให้มีความทุกข์ก็ห้ามไม่ได้
พอมันสุขแล้วรักษาเอาไว้ก็ไม่ได้
มีความทุกข์ขึ้นมา ไล่มันก็ไม่ไป
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ

“…ความคิดนั้นมันเกิดอยู่เสมอ

เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้

การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งดับความคิด

เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้ว

จิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน

อย่าฝันทั้งที่ตื่น

คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัวเท่านี้ก็พอ…”

96506301_1557424184439222_7076923445908340736_o

อารมณ์ใช้เป็นตัววัดความก้าวหน้า ในการปฏิบัติธรรมได้ดีที่สุด…

รัก โลภ โกรธ หลง ต้องลดลงไปเรื่อยๆครับ เพราะการปฏิบัติที่ถูกทางตรงทางนั้น เป็นไปเพื่อการละกิเลสของเรานั้นเอง ถ้าเราปฏิบัติแล้วก้าวหน้า ความอยากต่างๆของเราจะค่อยๆน้อยลง อารมณ์ดีใจเสียใจเราจะค่อยๆลดลง เราจะวางใจเป็นอุเบกขาได้มากขึ้นไปเรื่อยๆ เอาง่ายๆเช่นการแต่งตัวเลือกซื้อเสื้อผ้าจะลดลง การปรุงแต่งลดไปเหลือเพียงเหมาะสม

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.